คำว่า
?โป่ง?
ตามพจนานุกรมหลักภาษาไทยพายัพ
เรียบเรียงโดยพระธรรมราชานุวัตร
ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ แปลคำว่าโป่งดิน คือดินโป่ง โป่งน้ำคือน้ำโป่ง
มิได้แปลคำว่าโป่งโดยเฉพาะส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ แปลคำว่า โป่งดิน
คือดินที่มีเกลือโป่งน้ำคือช่องดินที่มีน้ำพุขึ้นมา คำว่า ?โป่ง? หมายถึง
ของที่พองลม เรียกผีที่อยู่ตามดินโป่งว่าผีโป่ง
เรียกป่าที่ดินโป่งว่าป่าโป่ง
คำว่า
?ข่าม?
หมายถึงการอยู่ยงคงกระพัน
แต่เมื่อคำว่า ?โป่งข่าม? มารวมกันจะแปลอย่างไรจึงจะกะทัดรัดที่สุดเล่า
บริเวณป่าตามขุนดอยแม่แก่ง
มีดินโป่งอยู่หลายแห่งก่อนที่จะถึงบริเวณที่เรียกว่าโป่งหลวง
แหล่งกำเนิดชื่อโป่งข่ามมีโป่งแกอยู่ด้านซ้ายมือ โป่งแพ่ง โป่งแม่ล้อม
อยู่ถัดๆไปล้อมรอบบริเวณที่เรียกว่าโป่งหลวง
พระฤๅษีที่อยู่ในป่ามักอาศัยถ้ำและอยู่ได้ด้วยการอาศัยเกลือจากดินโป่งด้วย ที่เขตน้ำแม่แก่งของตำบลแม่ถอดนี้
มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งอาจจะเคยเป็นที่อยู่ของพระฤๅษีในสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นวัดขึ้นแล้วชื่อ วัดสุขเกษม
ยังมีตำบลที่อยู่ติดกับตำบลแม่ถอดชื่อตำบลนาโป่ง
แต่โดยบริเวณโป่งหลวงอันเป็นที่มีสัตว์ลงกินดินโป่งมากเป็นพิเศษ และ มีกิติศัพท์ในเรื่องราวความข่ามคงต่างๆ
อาจจะหมายถึง บริเวณโป่งดินที่เคยข่าม ก็ได้
ทั้งนี้ก็เพราะคำว่าโป่งนี้ หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นมาได้ด้วย
เช่นโป่งน้ำพุร้อน
ที่จังหวัดเชียงราย
ไส้เทียนที่ลงยันตคาถาเรียกว่าโป่งเทียนดินที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของพืช
เช่นบริเวณสถานที่เรียกว่าโป่งแห้งในเขตตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง หมายถึงที่ผุดขึ้นมาของดินพิษ
หินที่มีเนื้ออ่อนทำหินลับมีดได้
เช่นหินในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เรียกว่าหินโป่ง
ซึ่งในตำบลแม่ถอดนี้
ยังคงใช้หินโป่งของอำเภอแจ้ห่มเจียระไนแก้วโป่งข่ามอยู่เสมอ
แหล่งแก้วตำบลแม่ถอดเป็นแก้วหินที่งอกอยู่ใต้ผิวดินในลักษณะสิ่งที่ผุดขึ้นมาโดยช่องร้าวของพิภพ เมื่อมีสิ่งมีค่าหาได้ยากผุดขึ้นมาได้เช่นนี้
และมีเรื่องราวของความข่ามคงเล่าสืบกันมาก็อาจจะตีความหมายด้วยวิธีแปลอย่างสละสลวยได้อีกว่าแหล่งที่ผุดขึ้นมาแห่งความข่ามคง
ในสภาพสถานที่นั้นเป็นโป่งแก้วอันล้ำค่าอีกด้วย
โดยที่เทือกเขาขุนตาลอันแผ่มาถึงขุนแม่ถอด ขุนแม่เตินและขุนแม่อาบ
ขุนแม่อวม
ซึ่งแผ่ลงมาเป็นอาณาบริเวณบ่อแก้วโป่งข่ามนี้ เป็นภูเขาที่มีรอยผุรอยร้าวน้อยกว่าภาคกลาง
หินอัคนีที่แซกขึ้นมาเป็นช่องเล็กๆ
หินแก้วต่างๆที่กำเนิดจากเทือกดอยดังกล่าวนี้ จึงมีทรงผลึกเล็กๆขนาดจุ๋มจิ๋ม
ซึ่งเหมาะที่สุดในการที่จะเป็นหินแก้วประดับมากกว่าประโยชน์ทางอุตสาหกรรมความมีสภาพเป็นทรงผลึกเล็กๆนี่เอง ที่ทำให้ลวดลายต่างๆจากสินแร่อื่นๆเข้าไปปรากฏ
จึงมีสภาพที่สมบูรณ์แบบในการที่จะทำเป็นแก้วแหวนต่างๆ
เป็นสิ่งที่เรียกว่า ?โป่งข่าม?
โดยแท้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น